คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 16

การเข้าเรียนครั้งที่ 16


วันที่ 26 กันยายน พ.ศ 2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
 
 
 - วันนี้อาจารย์ให้เเจกกระดาษเพื่อเขียน ข้อดี ข้อจำกัด เเสดงความคิดเห็น การนำไปใช้ ของเเท็บเล็ต
 

องค์ความรู้ที่ได้รับ

  • การนำเสนองานที่ต้องการให้คนอื่นสามารถรับรุ้เเละเข้าใจได้มีหลากหลายรูปเเ เช่น ผังความรู้ ตาราง เขียนบรรยาย
  • เรารู้จักหรือเคยเห็นรูปเเบบการนำเสนอนี้มาจากไหนได้บ้าง เช่น การอบรม สัมมนา จากสื่อต่างๆ เกิดมาจากความคิดของเราเอง ตัวอย่างจากที่อาจารย์เคยสอน
  • สิ่งที่ไดรับจากการเขียนเเสดงความคิดเห็นในเรื่องของเเท็บเล็ต คือ เห็นเกี่ยวกับความคิด ทัศนคติที่มีต่อสิ่งนั้น การเเสดงออกทางภาษาที่ต้องการสื่อสารให้คนอื่นรับรู้เเละเข้าใจไม่ใช่ว่าเราเข้าใจเเต่ตนเองเท่านั้น

  • เหตุผลที่อาจารย์ให้ทำบล็อกเพราะว่า
                          -  ต้องการที่จะลดภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบัน
                          -  อยากเห็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียน การสอนวิชานี้
           โดยเห็นการออกเเบบ งานที่ต้องการนำเสนอขึ้นผ่านบล็อกอย่างสร้างสรรค์
                          - บล็อกสามารถเชื่อมโยงจากเนื้อหาสื่อต่างๆที่นอกเหนือจากการเรียนได้เป็นอย่างดี
                            และสามารถที่จะแก้ไข ปรับปรุง เพิ่มเติม ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่ ได้อย่างสะดวก
                            โดยที่ไม่ต้องมานั่งเขียน นั่งลบให้เสียเวลา
  • สื่อ 3 มิติ คือ วามของจริงที่สามารถจับต้องได้ มองเห็นทุกด้าน ทุกมุม มีความลึก ความสูง  
 
- อาจารย์ได้โพสต์เนื้อหาการเรียน การสอนให้เราได้ไปศึกษา 
- อาจารย์ให้ไปเอาเเผ่นใสที่ห้องเพื่อเอามาเคลือบงานสื่อปฎิทิน เเต่ก่อนที่อาจารย์จะเเจกเเผ่นใส อาจารย์ให้ทำเเบบประเมินอาจารย์ก่อน การประเมินในครั้งนี้เป็นสิ่งเห็นว่าที่อาจารย์สอนเรามา เรามีความคิดอย่างไร มีนักศึกษาส่วนมากที่เห็นถึงความทุ่มเท ความตั้งใจ การแต่งการบุคคลิก ท่าทางของความเป็นครู เนื้อหาวิชาที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดออกมา เเละเห้นถึงความเอื้ออาทรที่มีต่อนักศึกษาโดยตลอดมา  เเต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ ยังมองไม่เห็นสิ่งเหล่านั้นที่กล่าวไว้ข้างต้น ตัวนักศึกษาเองอาจไม่สามารถที่จะปฎิบัติตามสิ่งที่ดีงามหรืองาน กฎกติกาที่วางไว้เลยไปประเมินให้อาจารย์น้อยขนาดนั้น
     ซึ่งตัวฉันเองถือว่าที่อาจารย์จะพยายามสอน บอกตรงๆว่าทีเเรกก็ยังไม่เข้าใจ เเต่เรามาเรียนทุกวัน ตั้งใจเรียนร่วมเเสดงความคิดเห็น และมีส่วนร่วมในการเรียน มองเห็นถึงจุดประสงค์ที่อาจารย์ตั้งใจที่จะให้เราเป็นครูที่มีคุณภาพจบออกไปเป็นที่ต้องการ และยอมรับของบุคคลอื่น เลย ฉันเองก็เลยมีความสุขกับการเรียนยอมรับในข้อตกลงทุกอย่างทำตามที่อาจารย์แนะนำ
สั่งสอน ฉันเชื่อว่าที่เลือกมาเรียนกับอาจารย์เเล้วสิ่งที่ได้รับตอบเเทนไปนั้นมากมายยิ่งนัก

"การยอมรับในสิ่งตัวเองทำลงไปไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือผิดในเมื่อเราทำลงไปเราก็ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอสำหรับสิ่งนั้น"

- หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้เพื่อนเเจกเเผ่นใสให้ติดงานถ้าเสร็จเเล้วให้ส่งที่กล่องวันนี้เลย แต่อาจารย์ให้โอกาสอีกวันพรุ่งนี้วันสุดท้ายเท่านั้น

 

นำเสนองานเเบบผังความคิด

 

น่าศึกษาเพิ่มเติมเป็นอย่างมาก

 
ตอนที่ 1 เเท็บเล็ต คืออะไร เอ่ย
 
 
ตอนที่ 2 แทบเล็ตต่างจาก PCและNotebook อย่างไร
 
 
ตอนที่ 3 ประโยชน์ของเเท็บเล็ตด้านการศึกษา
 
 
ตอนที่ 4 วิธีการใช้งานเเท็บเล็ต
 
ตอนที่ 5 สุขอนามัยในการใช้เเท็บเล็ต
                                                                                       
 

 

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียนครั้งที่ 15

การเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ 2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น.

- วันนี้อาจารย์ได้มีการเช็คชื่อตามปกติเหมือนอย่างที่เคยทำ
- หลังจากนั้น อาจารย์ก็ขอดูบล็อกของแต่ละคนว่าคืบหน้าถึงไหนเเล้ว เเล้วงานที่เราทำนั้นเหมาะกับคะแนนที่อาจารย์ได้วางมาตรฐานไว้หรือไม่
- อาจารย์ดูตั้งแต่คนเเรกจนถึงคนสุดท้าย เเละก็ได้เเนะนำไปเรื่อยๆว่ามีอะไรที่ต้องเพิ่มเติมเเละแก้ไขปรับปรุงบ้าง

สิ่งที่อาจารย์เเนะนำที่ต้องแก้ไขและปรับปรุง

  •  ให้นักศึกษาเพิ่มเติมงานวิจัยเกี่ยวกับภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยแล่งที่มาจะเอามาจากที่ใดก็ได้ อย่างเช่น มหาวิทยาลัยศรีณครินทร์วิโรศประสานมิตร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น
  • ให้เพิ่มลิ้งค์ของเพื่อนทุกคนให้ครบทั้ง 35 คนเเละเพิ่มรายชื่อเพื่อนทั้งหมดในกลุ่ม ให้ครบทั้งหมด
  • การบันทึกต้องมีรายละเอียดให้ครบถ้วน เรียนอะไรมา บรรยากาศเป้นอย่างไร ได้รับความรู้อะไรบ้าง และการเเสดงความคิดเห็นต่างๆ
  • การใส่ความรู้เพิ่มเติมควรหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่เราเรียน
  • เเหล่งที่มา ตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ครู คณะศึกษาศาสตร์
  • ควรมีการเพิ่มเติม VDO Powerpoint หรืออาจเป็นสื่อต่างๆที่นอกเหนือจากลิ้งค์เวบต่างๆ
  • ให้มีการเพิ่มเติมการวิเคราะห์เกี่ยวกับ VDO ที่เนื้อหาในVDO ต้องเกี่ยวข้องกับวิชาที่เราเรียนด้วยและอาจารย์ก็ให้เวลาสำหรับก่อนที่อาจารย์จะให้คะแนน
สำหรับบรรยากาศในห้องเรียน

ในการเรียน การสอน ครั้งนี้นี้อาจารย์จะดูบล็อกบางคนที่เรียบร้อยก็ไม่ค่อยกังวงใจมาก เเต่ยังสังเกตเห็นว่าเพื่อนบางคนที่ไม่ค่อนมีความคืบหน้าในงานนี้ก็มีความพะว้าพะวงอย่าเห็นได้ชัดมาก


















































วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้งที่ 14


การเข้าเรียน ครั้งที่ 14

วันนี้ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น 

-วันนี้นักศึกษาทุกคนรออาจารย์อยู่ที่ห้อง รอได้ซักพัก เเล้วก็มีเพื่อนขึ้นมาบอกว่าให้เพื่อนที่เรียนกับอาจารย์ไปหาอาจารย์ข้างล่างตึกคณะ พอเดินลงไปหาอาจารย์ อาจารย์ให้ไปเอากล้อง VDO เเละขาตั้งกล้องสายไฟ มาถ่ายVDO การเล่านิทานด้วยเทคนิคต่างๆที่พวกเราได้แบ่งกันไว้ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ที่เเล้ว
พอไปเอากล้องมาก็มีพี่กวางที่เขาได้มาสอนในการใช้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เเต่รู้ว่าจะไปค่อยถนัดเท่าไหรเลยให้ กมลวรรณ ศรีสำราญ เพื่อนอีกคนมาช่วยถ่ายVDO ให้แทน เราก็เป็นคนคอยบอกว่า ต้องขยับมาใกล้ๆกันนะ เดินขึ้นมาอีก

 

นิทานที่เราเล่ามชื่อว่า ที่อยู่ใหม่ของเรา

เล่าด้วยวิธีการเล่าไป ฉีกไป

 




- พอถ่ายกันเกือบเสร้จอาจารย์ก็ได้ขึ้นมาสอนต่อ อาจารย์ไดถามเเละได้บันทึกไว้ว่าใครบ้างที่มีความสามารถพิเศษในด้านต่างๆ เพื่อนทุกคนก็มีทั้งความสามารถแะละไม่มี แต่ทำไมถึงให้อาจารย์ต้องถามย้ำหลายๆรอซึ่งเรื่องแบบนี้มันเป็นเรื่องของตัวเราเอง เราต้องมีข้อมูลที่สุดแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นมาถามซ้ำ หรือถามคำ ตอบคำ
- อาจารย์พูดถึงอาเซียนว่าเราจะสอนอาเซียนให้กับเด้กได้อย่างไร พวกเราต่างก็ร่วมตอบกันทุกคน เช่น การวาดภาพ ระบายสี การร้องเพลง สอนภาษาสื่อออกมาโดยลักษณะท่าทาง การเเสดงออก 
- อาจารย์ก็ได้พูดถึงว่าการเรียนที่มีการปรับปรุงและพัฒนาทำไมนักศึกษาไม่พัฒนาเลยสมุดบันทึกก็ไม่มี การทำงานต้องมีหลักฐาน คะเเนนอาจารย์ให้ทุกคน 100 คะเเนนแต่ขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะสามารถรักษามันไว้มากน้อยเเค่ไหนเอง

องค์ความรู้

- การจัดประสบการณ์ต้องสอดค้องกับพัฒนาการของเด็และวิธีการเรียนรู้

- วิธีการเรียนรู้ของเด็กคือการลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และกระทำอย่างอิสระ

 
 
 
 
จาก VDO ที่กลุ่มของเราได้ยกมานี้ คือ 
 
             เรื่อง การจัดกิจกรรมการเเก้ไขปัญหาที่เด็กไม่กล้าพูดเเละไม่กล้าเเสดงออก
                     โดยคุณครูฐาวดี  ทองขะโชค โรงเรียนอนุบาลเด่นหล้า

การวิเคราะห์ VDO เรื่อง การจัดกิจกรรมการเเก้ไขปัญหาที่เด็กไม่กล้าพูดเเละไม่กล้าเเสดงออก
 
การสื่อสารของเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากในบางครั้งเด็กเข้าใจในสิ่งที่ครูสอนไป แต่เขาไม่พูดเลย ก็ทำให้เราคิดว่าเขาเข้าใจจริงหรือไม่ ธรรมชาติของเด็กคือขี้อาย ไม่กล้าเเสดงออก ควรหาสิ่งที่เป็นเเรงจูงใจในสิ่งที่เด็กคุ้นเคย โดยในกิจกรรมนี้คือลูกบอล หลังจากที่เด้กได้ร่วมทำกิจกรรมกับครูเเล้ว โดยเขาลืมไปเลยว่าก่อนหน้านี้เขาไม่พูด และจากนั้นครูก็ต้องการให้เด็กเห็นถึงที่มาของเสียงว่ามาจากไหน
 - สิ่งที่เเสดงให้เด็กเห็น ต้องสอดคล้องกับการกระทำ สีหน้าท่าทาง
 - กิจกรรมนิทานที่ครูเป็นคนเป็นคนที่วาดรุปให้กับเด็กเป็นคนเล่าเอง จะทำให้เราเห็นถึงพัฒนาการของเด็กโดยเฉพาะ ในเรื่องของการใช้ภาษาสื่อออกมาให้คนอื่นสามารถเข้าใจได้  เเต่ที่สังเกตเห็นคือภาพที่คุณครูได้วาดจะทำลูกศรเชื่อมภาพของเเต่ละภาพ เพื่อเป็นการเรียงลำดับเหตุการณ์ของการเล่านิทาน

การอบรมสัมมนาพัฒนาศักยภาพ



การอบรมสัมมนา ในเรื่องการสร้างจินตนาการด้วยนิทาน


เราอบรมตั้งเเต่13.00น.-16.00น.เป็นการอบรมที่สนุกสนานมาก ไม่ใช่แค่ไปนั่งฟังๆที่วิทยากรอธิบายอย่างที่หลายครั้งที่ผ่านมาแต่เป็นการสัมมนาที่สนุก สนานตื่นเต้น เฮฮา เพราะครูมูมีกิจกรรม เกม ความสนุกสนานมากมายมาให้เราได้ร่วมกันเล่นตั้งเเต่เช้าถึงเที่ยง เเละก็ตั้งแต่บ่ายจนเย็นไม่มีเวลาไหนที่นั่งฟังเเล้วเกิดความรู้สึกที่เบื่อหน่าย ทั้งสนุ ทั้งได้รับประสบการที่เเตกต่างเเหลากหลายนอกเหนือจากการที่มานั่งฟังภายในห้องเรียน หากสิ่งที่ครูมูสอนเราทั้งเรื่องการเล่านิทานในรูปเเบบต่างๆการจักกิจกรรมให้เด็ก
ตัวเราเองทำได้เหมือนครูมูคงเป็นครูที่มากไปด้วยกิจกรรมที่สร้างสรรค์และน่าสนใจเป็นที่ต้องการทำกิจกรรมของเด็กๆเป็นอย่างแน่นอน

ภาพบรรยากาศของการมาอบรมสัมมนา










 
 

 
 









วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

การเข้าเรียน ครั้งที่ 13

วันนี้ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2555 เวลาเรียน 08.30-12.20 น 
- อาจารย์เช็คชื่อภายในห้องเรียนตามปกติ
- อาจารย์ดไ้บอกว่า วันเสาร์ที่ 8 กันยายนนี้ จะมีการสัมมนาเกี่ยวกับนิทาน
โดยมีครูมูเป็นคนมาให้ความรู้ และอาจารย์ได้ถามว่ามีใครบ้างที่สามารถมาได้
และถามเหตุผลถึงคนที่มาไม่ได้ ว่าเพราะอะไร
- อาจารย์ให้ไปเอาสีและเพจตัวหนังสือที่ห้องอาจารย์มาแจกคนละชุด
- เอางานสื่อที่ทำจากปฏิทินให้อาจารย์ได้ดูเเละยังมีตรงจุดไหนที่ยังต้องแก้ไขอยู่
- หลังจากนั้นอาจารยืได้ให้เข้าไปร่วมฟังเทศน์ในช่วงก่อนที่จะเที่ยงในงาน
วันสถาปณามหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี

ภาพบรรยากาศของการเข้าฟังเทศน์เนื่องในวันสถาปณา

มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษมครบรอบ 72 ปี




ความรู้ที่ได้รับ

- การเล่านิทานเป็นกิจกรรมศิลปะ
- กิจกรรมที่ต้องมีในเเต่ละอาทิตย์ คือ ต้องมีการเล่าข่าว การโฆษณา ประชาสัมพันธ์
การเซ็นชื่อมาเรียน
- เด็กจะได้เห็น และได้ดูรูปแบบเเละลักษณะการเขียนจากครูผู้สอนเเละเด็กจะเกิดการเลียนแบบ
- มุมประสบการณ์ต้องจัดนิทาน บอร์ด หูฟัง วิทยุ
- กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น เกม ร้องเเละเต้น
- การเล่นต้องเล่นจาก  ของจริง----->ภาพ----->สัญลักษณ์----->นามธรรม
- เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 และการสัมผัสจริง
- การที่ำได้ไปฟังพระเทศน์ก็เป็นภาษาที่สื่อสราวิธีหนึ่งเช่นเดียวกัน